การขันองศาน็อต กับ มาตรฐานการติตตั้ง-ใช้งาน สายประกอบไฮดรอลิค สำหรับรถเก็บขยะมูลฝอย และ การป้องกัน ชิ้นส่วนเสียหายจากการประกอบติดตั้ง-ใช้งาน ระบบไฮดรอลิคของ Press Pack ในรถเก็บขยะมูลฝอย ( Refuse Compaction Body Trucks ).
ปัญหามาตรฐานการติตตั้ง-ใช้งาน สายประกอบไฮดรอลิค สำหรับรถเก็บขยะมูลฝอย และ การป้องกัน ชิ้นส่วนเสียหายจากการประกอบติดตั้ง-ใช้งาน ระบบไฮดรอลิคของ Press Pack ( Refuse Compaction Body ในรถขยะมูลฝอย .รุ่นหัวลาก HINO Mega FG และ ISUZU Forward FTR )
ศูนย์ซ่อม รถเก็บขยะมูลฝอย
ท่าทิ้ง – โรงกำจัดขยะ ลานจอดรถเก็บขยะมูลฝอย
ประสานงานลานประกอบ / ลานจอด รถเก็บขยะ มูลฝอย
เนื่องด้วยทางบริษัทฯ ได้รับรายงานการตรวจพบ ชิ้นงานบางส่วนชำรุด จากการติดตั้ง จากของที่ส่งกลับมาเพื่อการแก้ไขและทำเคลม พบว่ามีลักษณะที่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากผู้ผลิต แต่เกิดจากการประกอบติดตั้ง-ใสกลับ-ใช้งาน และ การจอดพักรถของผู้รับเหมารายย่อย โดยได้รับแจ้งว่าพบ สายประกอบไฮดรอลิค ที่มีปัญหาเคลมกลับมา มีดังนี้ :-
- สายประกอบไฮดรอลิค เข้ากระบอกเทเล เส้นล่าง T2AT-10 x 56 cm. ( มีปัญหา หัวสายบิดกลับมาที่ตำแหน่งสายเบียดกับผนัง )
เกิดปัญหาชิ้นงานสาย HYD เข้ากระบอกเทเล เส้นล่าง หลังจากขันสายเข้ากระบอกเทเล โดยปรับจัดตั้งมุมให้ถูกต้อง แล้ว เมื่อผ่านการใช้งานไปประมาณ 3 – 4 เดือน หัวสายเข้ากระบอกเทเล เส้นล่าง บางเส้น ก็บิดกลับมาในตำแหน่งมุมที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ขอบสายอัดเบียดกับผนังขอบเหล็กของโครงรถส่วนอัดขยะ (Press Pack) อีก
รูปแบบการติดตั้ง สายไฮดรอลิค เข้ากระบอกเทเล
ถูกต้อง CORRECT
เมื่อกระบอกเทเล หดสุด ต้องไม่มีส่วนใดของสายไปสัมผัส/อัดเบียดกับผนังขอบเหล็ก โครงรถ
จากการเข้าไปตรวจสอบ บริษัท ฯ พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในข้อ (1) เป็น ปัญหาที่เกิดจาก ติดตั้ง หรือ ใส่กลับ ขันหัวสายไม่แน่นพอ ใช้ไปนานๆ ก็คลายตัวออก เนื่องจากแรงดึงจากการเคลื่อนไหวของสาย
ทางแก้ปัญหา ต้องแก้ไขจากทางผู้ประกอบติดตั้ง ( Installer ) หรือ ผู้ถอดเปลี่ยน แล้วใส่กลับ
แนวทางการป้องกันปัญหาจากการติดตั้ง หรือ ถอดออกซ่อมแล้วใส่กลับไปใหม่
ขั้นตอนการติดตั้งสายประกอบไฮดรอลิค เข้ากระบอกเทเล ที่ ถูกต้อง ( Standard Installation Method )
No. |
Description |
1 |
กำหนดระยะยืดกระบอกเทเล เมื่อจะทำการยึดสายไฮดรอลิค อย่าให้ยืดออกไปจนสุด เช่นยืดออกไปแค่ 1 เมตร เท่านั้น แล้วทำการขันหัวสายเข้า Port ของกระบอกเทเล |
2 |
เล่งดูลักษณะการทำมุมที่ถูกต้องของ หัวสายก่อนขันยึดว่าทำมุมถูกต้อง เหมาะสม |
3 | แล้วใช้ประแจ “เบอร์ที่เหมาะสม” ขันหัวน็อตล็อตลงไป ถ้าติดฝืดให้คลายออก แล้วขันใหม่ให้สุดเกลียวอีกครั้ง บางตรั้งเกลียวจะฝืดเพราะผ่านการชุบซิงค์มา |
4 | ตรวจสอบบริเวณ Port ที่จะขันยึดให้ถูกต้องว่า มีขอบมุมคมอยู่ใกล้หรือไม่ |
5 | ขันข้อต่อเข้า Port โดยใช้ประแจ โดยขันให้มุมสายออกห่างจากผนังขอบเหล็กมากที่สุด |
6 | ตั้งมุมองศา ของข้อต่อให้ถูกต้อง แล้วจึงขันน็อตล็อคโดยประแจ ให้ Taper หน้าสัมผัส ของหัวแฟร์ ดันอัดเข้าTaper หน้าสัมผัสของPort |
7 | ทำการทดสอบหลังติดตั้งทุกครั้ง เมื่อหดกระบอกเทเลสุด จะต้องไม่มีส่วนใดของสายไปสัมผัส/อัดเบียดกับผนังขอบเหล็ก โครงรถ แล้วขันล็อคให้แน่นตึงมือพอสมควรโดยใช้ประแจปอนด์ ( ถ้ามี ) |
การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench ) สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็อตเหล็กเหนียว เกรด SS41
แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H
จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้ :
1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)
ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)
2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)
ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)
* ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง
หมายเหตุ :
งานยึดแป็ป หรือ หัวสายไฮดรอลิค ชนิด Single Nut ต้องมีการขันหัวน็อตทั้งสองข้าง ควรตั้งประแจวัดแรงบิดให้เท่าๆกัน และบิดไปพร้อมๆกัน ตัวท่อแป็ป หรือ สายจะได้ไม่บิด
หัวสายไฮดรอลิค ชนิด Double Nuts (มีเหลี่ยมจับ) สามารถยึดทีละข้างได้ แต่ต้องใช้ประแจจับ 2 ตัวพร้อมกันไปในการขันน็อต เพื่อไม่ให้สายบิด
- สายใบกวาดขยะเส้นบน T2K-10 x 100 cm. โดยมากเคลมกลับมา มีลักษณะรั่วที่ปลายปลอก
- สายหลังคาใหญ่เข้าแป็ป 25 มิล T1K-16 x 95 cm. โดยมากเคลมกลับมา มีลักษณะเหมือนโดนทับ หักพับ
จากการเข้าไปตรวจสอบ บริษัท ฯ พบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นใน(2) กับ (3) เป็น ปัญหาที่มักเกิดกับรถที่เบิกไปใช้โดยผู้รับเหมาย่อย (Sub-contractor) โดยมักจะ จอดรถแช่โดยคาแรงดันไว้ในสายHYD ขณะจอดพักรถเป็นระยะเวลานานๆ
ทางแก้ปัญหา ต้องแก้ไขจากทางผู้รับเหมารายย่อย ( Sub-contractors ) โดยให้ความรู้ และ ความชำนาญ ในการใช้งานรถได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
แนวทางการป้องกันปัญหาจากการจอดพักรถเมื่อไม่มีการใช้งาน
(1) ใบกวาดอัดขยะ (Packer Slide Blades) เมี่อโยกวาล์วใบกวาด ทำงานแล้วไม่ควรโยกแล้วแช่คาไว้เป็นระยะเวลานานๆ หรือ ขณะจอดพักรถ ควรจะต้องลดใบกวาดลงมาในตำแหน่งที่ปิดปกติทันที หรือ อยู่ในตำแหน่งที่สาย HYD ไม่งอพับ-ยืดออกไปสุด โดยไม่มีแรงดันคาไว้ในสาย
(2) สายหลังคา (Front T/G Pressure Lines) เมื่อยกท้ายขึ้นไม่ควรยกแล้วแช่คาไว้เป็นระยะเวลายาวนาน เมื่อไม่ใช้งาน หรือ จอดพัก ท้ายรถ (Tail Gate) ต้องลดท้ายลงมาในตำแหน่งที่ปิดปกติทันที หรือ ตำแหน่งที่สาย HYD ไม่งอพับ-ยืดออกไปสุด โดยไม่มีแรงดันคาไว้ในสาย
ทางบริษัทฯ จึงเรียนมาเพื่อทราบ ว่า ชิ้นงานทุกชิ้นที่ผลิตอยู่ในค่า มาตรฐาน ( ISO / EN standard ) ที่ท่านต้องการ และ บริษัทฯ ก็มีการทดสอบที่รับรองว่าจะไม่มีการรั่วซึม ที่แรงดันใช้งานสูง อย่างแน่นอน แต่ก็ต้องขอความร่วมมือจากท่านในงานการติดตั้งสายไฮดรอลิคที่จะต่อเข้าอุปกรณ์ และ ให้เวลาในการตรวจสอบการติดตั้ง ด้วย ดังกรณีตัวอย่าง การขันหัวสายตั้งมุมเข้า port ของสายกระบอกเทเลให้แน่น , การฝึกสอนให้ความชำนาญในการดูแลรักษารถแก่ผู้รับเหมาย่อย และ การจอดพักรถที่ถูกต้อง เป็นต้น
You must be logged in to post a comment.