การชดเชยค่าระยะบีบที่คลาดเคลื่อน , Swaging Diameter Calculation , การปรับเซ็ต ตั้งค่าศูนย์ ปุ่มปรับระยะบีบของเครื่องอัดสายไฮดรอลิค และ แนวทางการป้องกันปัญหาจากการติดตั้ง หรือ ถอดออกซ่อมแล้วใส่กลับไปใหม่
การชดเชยค่าระยะบีบที่คลาดเคลื่อน , Swaging Diameter Calculation , การปรับเซ็ต ตั้งค่าศูนย์ ปุ่มปรับระยะบีบของเครื่องอัดสายไฮดรอลิค และ แนวทางการป้องกันปัญหาจากการติดตั้ง หรือ ถอดออกซ่อมแล้วใส่กลับไปใหม่
[ การบีบย้ำหัวสาย โดยการชดเชยค่าระยะบีบที่คลาดเคลื่อนไป + 0.1 ถึง + 0.2 แต่อย่าให้เกิน + 0.2 เป็นอันขาด เพราะจะเกิดเดือยยุบตัวมากเกินไป ( Hose Insert Collapse ) สายจะอั้นน้ำมัน ( Pressure Drop ) หรือ ต้องดูความเหมาะของค่าชดเชยนั้นๆ ด้วย ]
Swaging Diameter Calculation
การปรับเซ็ต ตั้งค่าศูนย์ ปุ่มปรับระยะบีบของเครื่องอัดสายไฮดรอลิค
แนวทางการป้องกันปัญหาจากการติดตั้ง หรือ ถอดออกซ่อมแล้วใส่กลับไปใหม่
ขั้นตอนการติดตั้งสายประกอบไฮดรอลิคเข้า Port ต่างๆ ที่ ถูกต้อง( Standard Installation Method )
No. |
Description |
1 |
กำหนดระยะยืดกระบอกเ เมื่อจะทำการยึดสายไฮดรอลิค อย่าให้ยืดออกไปจนสุด เช่นยืดออกไปแค่ 1 เมตร เท่านั้น แล้วทำการขันหัวสายเข้า Port ของกระบอกเ |
2 |
เล่งดูลักษณะการทำมุมที่ถูกต้องของ หัวสายก่อนขันยึดว่าทำมุมถูกต้อง เหมาะสม |
3 |
แล้วใช้ประแจ “เบอร์ที่เหมาะสม” ขันหัวน็อตล็อตลงไป ถ้าติดฝืดให้คลายออก แล้วขันใหม่ให้สุดเกลียวอีกครั้ง บางตรั้งเกลียวจะฝืดเพราะผ่านการชุบซิงค์มา |
4 |
ตรวจสอบบริเวณ Port ที่จะขันยึดให้ถูกต้องว่า มีขอบมุมคมอยู่ใกล้หรือไม่ |
5 |
ขันข้อต่อเข้า Port โดยใช้ประแจโดยขันให้มุมสายออกห่างจากผนังขอบเหล็กมากที่สุด |
6 |
ตั้งมุมองศา ของข้อต่อให้ถูกต้อง แล้วจึงขันน็อตล็อคโดยประแจ ให้ Taper หน้าสัมผัส ของหัวแฟร์ดันอัดเข้าTaper หน้าสัมผัสของPort |
7 |
ทำการทดสอบหลังติดตั้งทุกครั้ง เมื่อหดกระบอกเทเลสุด จะต้องไม่มีส่วนใดของสายไปสัมผัส/อัดเบียดกับผนังขอบเหล็ก โครงรถ แล้วขันล็อคให้แน่นตึงมือพอสมควรโดยใช้ประแจปอนด์ ( ถ้ามี ) |
การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench )สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็อตเหล็กเหนียว เกรด SS41
แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H
จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้ :
1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)
ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)
2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)
ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)
* ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง
หมายเหตุ :
งานยึดแป็ป หรือ หัวสายไฮดรอลิค ชนิด Single Nut ต้องมีการขันหัวน็อตทั้งสองข้าง ควรตั้งประแจวัดแรงบิดให้เท่าๆกัน และบิดไปพร้อมๆกัน ตัวท่อแป็ป หรือ สายจะได้ไม่บิด
หัวสายไฮดรอลิค ชนิด Double Nuts (มีเหลี่ยมจับ) สามารถยึดทีละข้างได้ แต่ต้องใช้ประแจจับ 2 ตัวพร้อมกันไปในการขันน็อต เพื่อไม่ให้สายบิด
Belt Wrench ประแจ จับล็อคสาย ขนาดบรรจุ 1 ตัว / แพ็ค
มาตรฐานการติตตั้ง สายประกอบไฮดรอลิค และ ข้อต่ออะแด็ปเตอร์ ( Hydraulic Assemblied Hoses & Adapter Fitting Installation ) สำหรับ ประกอบ-ติดตั้ง ข้อต่อและสายไฮดรอลิค และ การป้องกัน ชิ้นส่วนเสียหายจากการประกอบ-ติดตั้ง ระบบไฮดรอลิค
เพื่อเข้าไปทำการ ตรวจเช็ค เครื่องอัดสายไฮดรอลิค
You must be logged in to post a comment.