Offshore projects : ข้อแนะนำ Background ในวงการก็าซและน้ำมัน : งานซ่อม หรือ ติดตั้งหน้าแปลน ท่อแก็ส / ท่อน้ำ / ท่อน้ำมัน ขนาดใหญ่ : ประแจปอนด์ Torque Wrench


 
         สำหรับ ท่อคอมโพสิต หรือ FRP ( Fiber Reinforced Plastic ) Pipe ใช้กับงานแรงดันต่ำ-ปานกลางไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่ใช้งานเป็นท่อเดรน ระบายของเสีย หรือ น้ำทิ้ง มักติดตั้งอยู่ชั้นด้านล่างสุดของ แท่นเจาะ Oil Rig หรือ แท่นผลิตส่งก็าซ Production Platform  ที่นิยมใช้กันตาม แท่นขุดเจาะ/แท่นผลิต ตามแนวตะเข็บร่วม JDA ( Joint Development Area ) Thai-Malaysia จะเป็น FRP Pipe ของ AMARON เพราะมีโรงงานผลิตอยู่ในมาเลย์ ( ในอดีต ขนาดธุระกิจ ก๊าซและน้ำมัน เช่น PETRONAS ใน มาเลย์ ใหญ่กว่าไทยมาก AMARON อเมริกา จึงไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในมาเลย์เลย )

ท่อ AMARON ที่ใช้กันตามฐานขุดเจาะ จะมีรุ่น AMARON 3000 , 5000 และ 7000

  • AMARON 3000 และ AMARON 5000 ใช้งาน On-shore
  • AMARON 7000 ใช้งาน Off-shore

       ท่อพวกนี้ใช้เทคนิค การพันใยเฉียงสลับไปสลับมาก จนดูคล้ายใยถัก เคลือบประสานกันด้วย เรซิ่น ชนิดพิเศษที่เหนียวและแข็งแรงมาก ทนแดด ทนความร้อน กันไฟได้ และ ถูกออกแบบมาให้ทน แผ่นดินไหว  พายุไต้ฝุ่น และ คลื่นยักษ์ซึนามิ ทนแรงโน้มถ่วงได้ ตั้งแต่ขนาด 3G ถึง 7G

      ส่วนใหญ่ บริษัท น้ำมัน เขาสั่งท่อ AMARON เข้ามากันเอง จากสิงคโปร์ เพราะไม่ต้องเสียภาษี มีแต่การติดตั้งเท่านั้นที่จ้างบริษัทในไทยทำ แต่ผู้ติดตั้งก็ต้องได้รับการรับรอง ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว Certified Assembler เท่านั้น เขาถึงจะกล้าจ้างให้ทำ

______________________________________________________________________________________

           งานซ่อม หรือ ติดตั้งหน้าแปลน ท่อแก็ส / ท่อน้ำ / ท่อน้ำมัน ขนาดใหญ่ ต้องเคลียร์สเปคกับทาง Project Owner ให้ดีก่อน เพราะงานพวกนี้ จะมี Head contractor ( HC ) ใช้สเปคของ บริษัทต่างชาติที่เป็นเจ้าของ knowhow ทางด้านท่อน้ำมันและก๊าซ เช่น CHEVRON , UNOCAL , BISHTISH PETROLEUM , ELF เป็นต้น ซึ่งเคี่ยวมากๆ

          จะมีการตรวจสอบทุกขั้นตอน กว่าจะผ่าน Commisioning Test ได้ตรวจสอบเยอะมาก ต้องระวังมากๆ เรื่องส่งมอบงานผิดสเปค เดี๋ยวจะถูกเคลมได้

สิ่งที่ต้องเคลียร์กับทาง Project Owner งานบริษัท น้ำมันและก๊าซ ก่อน :-

Materials :

  • อุปกรณ์ พวกValve แรงดันใช้งาน ต้องการ Corrosion Protection ใช้ในระดับไหน : ลิ้น Disc เป็นอะไร มี Cast Iron, Ductile Iron และ SUS 304 , SUS 316 , แหวน Packing Ring ประเก็น Gasket เป็นอะไร เป็นยาง Rubber Neoprene , EDPM หรือ พลาสติก PTFE หรือ เส้นใยอรามิต /เคฟล่า หรือ ประเก็นเหล็ก Metalflex ฯลฯ
  • อุปกรณ์ พวก Flow Meter ต้องการ ใช้แบบใด แบบมีใบพัดด้านใน Impeller เหมือนมิเตอร์น้ำ หรือ แบบใช้กระแสแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หน้าปัดตัวเลข Digital ฯลฯ
  • อุปกรณ์ พวกเกจวัด Guage ต้องการหน้าปัดขนาดเท่าไรช่วงวัดสเกลวัสดุ เกลียวออกข้าง หรือ ออกหลัง ต้องการเติมน้ำมันกันสั่นสะเทือนหรือไม่ ต้องการใส่หางหมู Syphon กันน้ำพุ่งเข้ากระแทก Hammer Schock หรือไม่ ฯลฯ
  • ท่อไร้ตะเข็บ Seamless Carbon Steel Pipe ASTM A53 Sch.#40 แบบไหน มี ERW , EBW , EFW ฯลฯ
  • พวกหน้าแปลนเชื่อม Flange เป็นแบบๆไหน Class ? สเปคอะไร DIN , ANSI , JIS หน้าแปลน จาน หนือ ยกมีคอเชื่อม Welding Neck Flange ? เป็น Flat Face (FF) หรือ Raised Face (RF) หรือ Ring Joint Face RTJ ? เป็นต้น

         เมื่อทำการซ่อม หรือ ติดตั้งเสร็จ ก่อนส่งมอบ ก็จะต้องรวม Hydrostatic Test ผลทดสอบการอัดน้ำ เช่น ท่อ Pipe ท่อใหญ่ Ø 400 mm. SCH 40 ใช้แรงอัดน้ำ 75 bar โดยทิ้งไว้นาน 12 ชม.ถ่ายรูปประกอบด้วย ซึ่งจะถือเป็นชิ้นเดียวกับงานที่ส่งมอบ ผลทดสอบการอัดน้ำ+รูปถ่าย แนบเป็นเอกสารต่องาน 1 ชิ้น


เรื่อง ประแจปอนด์ Torque Wrench และ Job Reference งาน ปตท.สผ

ถ้าจะสั่งซื้อประแจปอนด์ Torque Wrench ต้องตกลงกับ เจ้าของงานหน้าแปลน เรื่อง สเปค ค่าแรงบิดหัวน็อต Stud Bolt ก่อน ว่าต้องการค่าแรงบิดหัวน็อตเท่าไรจึงจะสั่งประแจปอนด์ได้เพราะมีหลายขนาด ตามค่าแรงบิด

  • แรงบิดน้อย ด้ามโยกก็สั้นกว่า ( คือ ตัวเล็กกว่า )
  • แรงบิดยิ่งสูงมาก ด้ามโยกก็ยิ่งยากมาก ( คือ ตัวใหญ่กว่า )
  • หน้าแปลนยิ่งตัวใหญ่ ก็ย่ิงใช้แรงบิดหัวน็อตสูงมากขึ้น ตามขนาดหน้าแปลน

ค่าแรงบิด ( Bolt torque ) ช่วง ประมาณ 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft) ใช้ประแจตัวเล็กกว่า

ค่าแรงบิด ( Bolt torque ) ช่วง ประมาณ 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึ��� 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft) ใช้ประแจตัวใหญ่กว่า

  • ถ้าแรงบิดหัวน็อตยึดน้อยเกินไป หน้าแปลนก็จะสลิปเลื่อนเคลือนไหวได้ จะเกิดแรงเฉือน Shear Stress ให้สลักยึดขาดได้
  • ถ้าแรงบิดหัวน็อตยึดมากเกินไป จะเกิดความเค้น จาก แรงดึง Tensile Stress ดึงให้สลักยึดขาดได้

ดังนั้น แรงบิดหัวน็อต ต้องเหมาะสมพอดี ไม่มาก-ไม่น้อย เกินไป

คู่มือการขันน็อต

การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench ) สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็อตเหล็กเหนียว เกรดSS41

แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H

จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้ :

 1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)

     ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)

 2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)

     ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)

     * ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง

หมายเหตุ :        ด้ามบิดประแจปอนด์ มาตรฐานปกติ  ยาว  0.53 M หรือ 1.74 Ft.

Subject: RE: How to repair gas pipe flange leakage_วิธีซ่อมหน้าแปลนท่อแก็สที่รั่ว_Re: ประแจปอนด์ Torque Wrench
 
How to repair gas pipe flange leakage_วิธีซ่อมหน้าแปลนท่อแก็สที่รั่ว_Re: ประแจปอนด์ Torque Wrench

How to repair pipe flange leakage_วิธีซ่อมหน้าแปลนท่อแก็สที่รั่ว_Re: ประแจปอนด์ Torque Wrench

How to repair pipe flange leakage_วิธีซ่อมหน้าแปลนท่อแก็สที่รั่ว_Re: ประแจปอนด์ Torque Wrench

ใช้ฟองน้ำ ชุบ น่ำสบุ่ หรือ น้ำแฟ็บ ลูบให้ทั่วตามหน้าแปลนท่อก็าซ ดูว่ารั่วตรงไหน?

วิธีอุดหน้าแปลนท่อก็าซรุั่ว ที่รั่วออกตามร่องเกลียว มีหลายวิธี แต่ต้องเป็น Cold Work เท่านั้น เพราะ ก็าซไวไฟมาก ระบบที่ใช้ไฟฟ้า หรือ ความร้อน ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

1) ใช้ ก้อนดินน้ำมัน Epoxy Putty A/B อัดเข้าไปตามร่องเกลียว และ ร่องประกบของหน้าแปลน

2) ใช้ ปืนยิงซีลกาว แบบ Cold Work ตัวใหญ่ๆ เช่น Urethene Gun ยิงอัดฉีดพลาสติกเหลวเข้าไปตามร่องเกลียว และ ร่องประกบของหน้าแปลน

3) ใช้ แผ่นเทปซิงค์ฟอยล์ หรือ เทปพลาสติกเหนียวๆหนาๆ หรือ FRP Lamination พันหุ้มทับชั้นนอก อีกชั้นหนึ่ง

ทำซ้ำ โดยใช้ฟองน้ำ ชุบ น่ำสบุ่ หรือ น้ำแฟ็บ ลูบให้ทั่ว ดูว่ายังรั่วอยู่หรือเปล่า

ถ้าท่อก็าซแรงดันสูง คงต้อง By pass แก็ส ก่อนทำการอุดรอยรั่ว

 

Subject: ประแจปอนด์ Torque Wrench

อยากจะลองเช็ค Torque ขันน็อตหน้าแปลน ทุกตัวให้ได้แรงบิดที่ถูกต้องก่อน

ประแจปอนด์ Torque Wrench มันล็อคค่าแรงบิดหัวน็อต เมือ่ถึงแรงบิดที่ต้องการ ( เวลาที่เราตั้งแรงบิด Torque ไว้ เมื่อบิดประแจจนได้แรงตึงมือที่ต้องการ มันจะรูดดังแกร็กๆ 

คู่มือการขันน็อต

การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench ) สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็���ตเหล็กเหนียว เกรด SS41

แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H

จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้ :

1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)

ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)

2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)

ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)

ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง

หมายเหตุ : ด้ามบิดประแจปอนด์ มาตรฐานปกติ ยาว 0.53 M หรือ 1.74 Ft.

นับถือศุภวิทย์ – SS Hydrotech

คู่มือการขันน็อต

การตั้งแรงบิดประแจปอนด์ ( Torque wrench ) สำหรับวัดค่าแรงบิดหัวน็อตเหล็กเหนียว เกรด SS41

แรงบิดหัวน็อต สำหรับ เหล็กงานกลึง ( Steel grade SS41) ตามมาตราฐาน ASTM A 193 B7/A194 2H

จะตั้งค่าแรงบิด ดังนี้ :

 1) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือ อยู่นิ่งกับที่ตลอดเวลา (Static Environment)

     ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 271 Nm (หรือ ประมาณ 200 lb-ft)

 2) การขันหัวน็อตเข้าชิ้นงาน บริเวณ ที่มีการเคลื่อนไหว หรือ สั่นสะเทือนตลอดเวลา (Dynamic Environment)

     ตั้งค่าแรงบิด ( Bolt torque ) = 406 Nm (หรือ ประมาณ 300 lb-ft) ถึง 440 Nm (หรือ ประมาณ325 lb-ft)

     ต้องขันให้แน่นกว่าในสภาวะ(1) ที่อยู่นิ่ง เพราะแรงสั่นสะเทือนในสภาวะ(2) จะทำให้น็อตคลายตัว หลวมเองได้ในภายหลัง

หมายเหตุ :        ด้ามบิดประแจปอนด์ มาตรฐานปกติ  ยาว  0.53 M หรือ 1.74 Ft.