มาตราฐานความปลอดภัยในการติดตั้ง ชุดปั๊ม (Pump Unit) และ ถัง (Tank) ขนาดใหญ่
1) งานปูน : แท่นคอนกรีต (Concrete Foundation) และฐานปูน (Concrete Footing)
= งานเทหล่อแท่นเครื่อง ปูนคอนกรีตเสริมแรง ( Reinforced Portland Cement ) แบบ Concrete Casting
โครงเหล็กเสริมแรงภายในคอนกรีต ทำตามแบบกำหนดของ บริษัท ที่ปรึกษา ที่แนบมา ( เหล็กข้ออ้อย ขนาด Ø 16 mm. ( 5 หุน ) ผูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบตะกร้อ ทุกๆ ระยะห่าง 20 ซม. ห่างจากขอบปูนโดยรอบ ประมาณ 1”
** มาตราส่วนผสมเพื่อ การอนุมัติ กรุณาส่งให้ช่าง ที่หน้างาน เพื่อการจัดซื้อวัตถุดิบในขั้นตอนต่อไป **
งานคอนกรีต แท่นเครื่อง รับแรงสูง
มาตราส่วนผสม ปูน : ทราย : หิน = 1 : 2 : 4
วิธีผสม
- ทำกะบะให้มีขนาดเท่ากับ ปูน 1 ถุง ( 0.038 ลูกบาศก์เมตร ) ทำกะบะแล้วเทปูน ลงในกะบะ 1 ถุง
- จากนั้นตวงทราย 2 กะบะ และ ตวงหิน อีก 4 กะบะ
- ใส่ลงไปในลูกโม่ผสมปูน
- เติมน้ำใส่ น้ำจะต้องเป็นน้ำสะอาด มีสิ่งเจือปนไม่เกิน 2,000 ppm. หรือ เป็นน้ำที่สามารถใช้ดื่มได้
Cement Ratio
ถ้าต้องการ กำลังอัด 200 kg/m2 ใช้อัตราส่วนผสม น้ำ : ซีเมนต์ = 0.6 โดยน้ำหนัก ( เติมน้ำ 60 % )
ถ้าต้องการ กำลังอัด 250 kg/m2 ใช้อัตราส่วนผสม น้ำ : ซีเมนต์ = 0.5 โดยน้ำหนัก ( เติมน้ำ 50 % )
ปูนซีเมนต์ Portland ที่ใช้
ถ้าต้องการแข็งตัวปกติธรรมดา ใช้ “ปูนปอร์ตแลนด์ ตราช้าง” หรือ “ตราพญานาค สีเขียว” หรือ “ตรา เพชรเม็ดเดียว”
ถ้าต้องการแข็งตัวเร็ว ใช้ Super Cement “ปูนซีเมนต์ ตราเอราวัณ” หรือ “ตราพญานาค สีแดง” หรือ “ตรา สามเพชร”
ถ้าเป็นโครงสร้างใกล้ทะเล หรือ น้ำกร่อย ให้ใช้ปูนพอร์ตแลนด์ ประเภท 5 “ปูนซีเมนต์ ตราช้าง สีฟ้า” หรือ “ตราปลาฉลาม”
SURFACE PREPARATION: การเตรียมผิวก่อนเคลือบกันซึม (น้ำผสมเคมี)
ขั้นตอนการทำงาน ( Procedure )
การเคลือบผิวด้วยสารเคลือบ จะได้ผลตามประสงค์ขึ้นอยู่กับการเตรียมผิวที่จะเคลือบให้ถูกต้องและได้
มาตรฐานตามกำหนดไว้ หลักใหญ่ที่จะต้องคำนึงถึงมีดังนี้ :-
- คอนกรีตที่เทใหม่ ก่อนเคลือบควรมีอายุอย่างน้อย 28 วัน
- ใช้ HCL Acid ทำความสะอาดผิวคอนกรีต ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ใช้น้ำสะอาดล้างอีกครั้ง
- ซับน้ำให้แห้ง แล้วใช้พัดลม หรือ สปอร์ต ไลท์ เป่าหรืออบผิวคอนกรีตให้แห้งสนิท
- ผิวคอนกรีตจะต้องสะอาด แห้ง ปราศจากสิ่งสกปรก คราบน้ำมัน จารบี ไขมัน
2) งานเหล็ก และ สร้างฐานเหล็ก
1) กรณี ทำการติดตั้งใหม่ทั้งหมด
- การทำโครงเหล็กรองชุดปั๊ม และ เสาถัง
- การทำแท่นคอนกรีต และ ฐานเสาถังใหม่
- การทำ Footing Plate ติดตั้งเสาค้ำถัง
- การเคลือบผิวปูนป้องกันน้ำ/เคมี ซึมลงใต้พื้นปูน
2) กรณี ซ่อมแซมบูรณะ ใหม่
- การเปลี่ยนเสาค้ำเหล็ก และ ทำWalkway ใหม่
- การเคลือบ สีภายนอกถังใหม่ (สีหมดอายุแล้ว ควรลอกสี ทำใหม่หมด )
- การทำ Concrete Foundation และ Footing ติดตั้งถังภายใน 12 – 18 ช.ม โดยการตั้งฐานหลอก และ เสาหลอกแบบ Dummy Support Beam และ Dummy Post โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งอุปกรณ์
- การซ่อมรอยแตก และ เคลือบผิวปูนป้องกันน้ำ/เคมี ซึมลงใต้พื้นปูน
การเคลือบผิวเหล็กป้องกันน้ำผสมเคมีกัดกร่อน
ขั้นตอนการทำงาน ( Procedure )
SURFACE PREPARATION: การเตรียมผิวก่อนเคลือบกันเคมี
การเคลือบผิวเหล็กด้วยสารเคลือบ จะได้ผลตามประสงค์ขึ้นอยู่กับการเตรียมผิวที่จะเคลือบให้ถูกต้องและได้มาตรฐานตามกำหนดไว้ หลักใหญ่ที่จะต้องคำนึงถึงมีดังนี้
ผิวเหล็ก
- ทำการล้างไขมัน และ ลอกสีเก่า ออกจากผิวเดิม
- ใช้ กระดาษทราย หรือ เครื่องพ่นทรายขัดผิวเหล็ก ขัดผิวเหล็กให้ได้ความละเอียดตามมาตราฐาน (Cleanliness) Sa 2 – Sa 2 1/2 Near White, ความหยาบผิว (Profile) 75 – 120 ไมครอน ตรวจสอบความสะอาด ให้เรียบร้อย ขนเศษวัสดุ นำไปกำจัด
- งานเคลือบรองพื้น (Primer) ลงน้ำยารองพื้นเคลือบผิวเหล็ก หนาประมาณ 150 ไมครอน ทันที ภายในเวลา ไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดสนิมเหล็ก
LAMINATION :
- งานเคลือบรองพื้น (Primer) ลงน้ำยาเคลือบรองพื้น หนาประมาณ 150 ไมครอน
- งานสร้างเนื้อ (Resurface) ซ่อม สร้างเนื้อส่วนที่เสียหาย และ สร้างเนื้อที่ขอบมุมให้โค้ง รับการวางเส้นใยไม่ให้เกิดฟองอากาศ
- งานลงเส้นใยเสริมแรง (Hand Lay up with Chopped Strand Mat) ลงเส้นใยเสริมแรง พร้อม น้ำยา(Resin)
- เคลือบภายใน บริเวณ พื้นถัง ผนัง แผ่นกั้น(Partition) และขอบถัง จำนวน 3 ชั้น การต่อแผ่นเส้นใยห้ามต่อชน แต่ให้เกยกันประมาณ 10 – 15 ซม. ( Overlapping ).
- ส่วนเคลือบภายนอกที่ขอบผนังถัง วางเส้นใย 2 ชั้น พร้อมน้ำยา ในการวางเส้นใยแต่ละชั้นให้ไล่ฟองอากาศ ให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ให้แห้ง
- บริเวณ เหล็ก H-Beam โครงสร้างเสริมความแข็งแรงถัง ให้ใช้น้ำยาเคลือบ Flake Lining Compound หรือ เคลือบน้ำยา 3 ชั้น โดยการทา หรือ การพ่นสเปรย์ เพื่อให้เข้าไปเคลือบให้ทั่วถึง ตามซอก ตามมุม ต่าง ๆ
- งานเคลือบเส้นใยบาง ( Surfacing Tissue หรือ Surface Veil ) ลงเส้นใยบางพร้อมน้ำยา จำนวน 1 ชั้น ไล่ฟองอากาศ ตรวจสอบความเรียบร้อย ทิ้งให้แห้ง
- งานเคลือบทับหน้า ( Top Coating ) ทำการเคลือบทับหน้าด้วยน้ำยาเคลือบทับหน้าอีก 1 ครั้ง
- งาน ตรวจสอบ และ ควบคุมคุณภาพ (Quality Control and Inspection ) ทีมงานตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ จะต้องตรวจสอบ ระบบงานเคลือบผิวตลอดเวลา ทุกขั้นตอนการทำงาน ตามมาตราฐาน จัดทำรายงาน
ควรมีการตีเส้นเหลืองเพื่อแจ้งอาณาเขตที่ปลอดภัย (Safety Zone) ด้วย Epoxy Yellow line (width 7 cm)
1st layer (Prime Coat) : Solvent Free Epoxy
2nd layer (Top Coat ) : Solvent Free Epoxy + Filler + Pigment
Thickness : 500 micron
รถเครนที่ใช้ยกถัง ขนาดใหญ่
การใช้บริการยกถังในบริเวณ ที่ประกอบ และ ติดตั้งถัง มุมองศา และ ความสูงในการยก ของแขนบูม ของรถเครน ต้องถูกต้องเหมาะสม โดยดูจากขนาดตัน ของรถเครนยกที่ใช้ และ จำนวน เที่ยวในการใช้เครนยก ก่อนทำการยก หรือ พลิกถัง
การทำ Concrete Footing เสริมแรงโครงเหล็กเส้น
ลำดับที่ |
รายละเอียดของงาน ที่ต้องทำ ในการทำ Installation หรือ Renovation ถัง |
1 |
ทำแผ่น Footing Plate หัวเสา |
2 |
เสาค้ำเหล็ก ทั้ง 6 ต้น |
3 |
งานเชื่อมเสาค้ำ กับตัวฐานรับ Shell ของถัง |
4 |
งานทาสี, ลอกสี, ยิงทราย และ ทาสีภายนอก แทนสีที่หมดอายุ ใหม่ค่าความต้านทานสนิม ( ดูได้จากชนิดของ primer ที่ใช้ )Salt Spray Resistance หรือ ค่า Normal Saline Smoking (NSS) resistance บอกถึง อายุการใ���้งาน ดังนี้:-Iron Oxide Primer > 72 < 120 ชั่วโมง ( หรือ แปลงเป็นระยะเวลาเทียบตามเครื่องเร่งสภาวะ คือ ทนสนิมมากกว่า 3 – 5 ปี )Zinc Rich Primer > 120 < 200 ชั่วโมง ( หรือ แปลงเป็นระยะเวลาเทียบตามเครื่องเร่งสภาวะ คือ ทนสนิมมากกว่า 5 – 8 ปี )Epoxy มีผิวแข็ง และ ความทนทานสูง แต่ถ้าถูกแสง UV ก็ใช้งานได้ประมาณ 3 ปี, PU ทนแสง UV ได้ดี แต่ Shelf-life ของ PU ประมาณ 5 ปี |
5 |
ทำ ตอหม้อ เสริมเหล็กเส้น Footing Concrete รองรับเสา |
ควรเข้าไปตรวจสอบดูหน้างานที่บริเวณพื้นคอนกรีต ดูจากสภาพถายนอกด้วยสายตาก่อน ถ้าพบว่า บริเวณพื้นดังกล่าวมีสภาพเหลืออยู่ประมาณ 20% แต่โดยปกติพื้นบริเวณที่น้ำผสมเคมีกัดกร่อนรุนแรง จะมีสภาพแย่กว่าที่ตาภายนอกเห็นมาก น่าจะเป็นจุดที่วิกฤติ (Critical Point) จุดหนึ่งในโรงงานที่ต้องรีบแก้ไขเป็นอย่างมาก หรือ ทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่
บริเวณ แท่นคอนกรีต และ โครงเหล็กรอง
Pump Station Unit ควรเคลือบพื้นกันซึมสำหรับพื้นที่ที่เป็น Secondary Contamination บริเวณถังน้ำผสมสารเคมี
ควรมีการยิงวัดระดับ ทั้งแนวดิ่ง และ แนวราบ เพื่อดูความลาดเอียง หรือ การทรุดตัว และ ตรวจเช็คสภาพของโครงเหล็กเส้น (Reinforced Pre-stress Wire ) ที่อยู่ในคานรับแรง (Support Beam)ใต้พื้น เพราะโดยปกติ สารเคมีที่กัดกร่อนรุนแรง อย่าง กรดเกลือ โซดาไฟ และ กรดกำมะถัน สามารถกัดกร่อน ทั้งเหล็ก และ ซีเมนต์ ให้ละลายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีการรั่วไหลของสารเคมี ซึมเข้าไปใน คอนกรีตใต้พื้นแล้ว ก็จะพบว่ามีการกัดกร่อนที่ โครงเหล็กเส้นเสริมแรงในคอนกรีตด้วย นอกเหนือจากการกัดกร่อน ที่เกิดขึ้นกับเนื้อซีเมนต์
ถ้าดูจากลักษณะที่เป็น แบบ ดังในรูป ปัญหาที่จะพบเมื่อสารเคมีสามารถ รั่วซึมลงสู่ใต้
พื้นคอนกรีตได้แล้ว ในอนาคตอันใกล้จะเป็นดังนี้ :-
- พื้นบริเวณที่มีการแตกรั่วซึมของสารเคมีกัดกร่อน ซึมลงไปใต้พื้น จะค่อยๆแอ่นในลักษณะ “ ตกท้องช้าง ”
ซึ่งการยิงวัดระดับไม่สามารถตรวจจับพบ
การทรุดตัวของพื้นได้ เลยเพราะไม่มีการทรุดตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง จะมีก็แต่การค่อยๆแอ่นทีละเล็กทีละน้อย แต่เมื่อตรวจวัดพบการเอียง ก็จะเกิดการเสียหายของโครงเหล็กในคานรับใต้คอนกรีตมาก จนเกินที่จะแก้ไขได้แล้ว (การตรวจโครงสร้างเหล็กทำได้โดยการทำ Non-destructive testing เช่น X-Ray Defraction เป็นต้น)
- บริเวณที่อยู่ใกล้ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หรือ แอ่งน้ำ ระดับน้ำใต้ดิน มีการ ขึ้น-ลง อยู่ตลอดเวลา ตามระดับ น้ำทะเล ทำให้เกิด โพรงใต้ดิน ใต้พื้นคอนกรีต ช่วยเสริมให้การทรุดตัวของพื้นเกิดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะพื้นทรงตัวอยู่ได้ด้วยคานเพียงอย่างเดียว (เสาเข็มจะต้องตอกลงไปลงถึงชั้นหิน)
- การแอ่นตัวของพื้นจะช้า หรือ เร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนัก(Load) ที่รับ แต่เมื่อเริ่มแอ่นแล้ว จะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว เนื่องโครงเหล็กเสริมแรงในคอนกรีต เสียสภาพไปแล้ว
- สภาพอากาศก็มีผล โดยมักจะ แอ่น หรือ ทรุด หลังจากฤดูฝนที่ฝนตกหนัก หรือ ช่วงที่มีน้ำมาก ผ่านพ้นไปแล้ว เกิด อากาศแห้งแล้งอย่างหนักตามมา
- การปรับปรุง หรือ ซ่อมแซม พื้น ควรคำนึงถึง ระบบการป้องกันไม่ให้โอกาสสารเคมี รั่วซึมเข้าไปยัง เนื้อคอนกรีตได้เลยเสร็จ ควรบุพื้น ด้วยระบบที่ไม่มีตะเข็บ หรือ รอยต่อ (Seamless) เท่านั้น
- เมื่อเปิดหน้างานซ่อม ทางบริษัทฯผู้รับเหมา ควรจะเจาะช่อง เข้าไปยังโพรงใต้พื้น เพื่อสำรวจดูสภาพของ คานรับน้ำหนัก ใต้คอลัมท์ และ หาวิธีป้องกันแก้ไขได้ เช่น ทำ Concrete Repair หรือ Grouting Injection ฯลฯ ตามความเหมาะสมต่อไป
ช่างเทคนิคก่อสร้าง งานปูน (โยธา) ควรเข้าไปตรวจสอบดูก่อนติดตั้งอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจสมบรูณ์ ว่าพื้นจะไม่มีการแอ่นตัว หรือ ทรุดลงในอนาคต และ คิดว่าต่อไปจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อท่านในการดูแลรักษาระบบการผลิตในโรงงานด้วย
ควรพูดคุยกับเจ้าของงานเกี่ยวกับปัญหาในอนาคต เพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง โดยขอเปิดหน้างานเพิ่มเติมในส่วนการซ่อมพื้นปูนที่แตก ( เตาะพื้นปูนบริเวณที่แตกออกเพื่อเปิดผิว ลึกประมาณ 5 ซม. วางตาข่ายเหล็ก และ เทโปกปูนทับใหม่) , ทำเพิ่ม แท่นคอนกรีต และ ฐานตอม้อคอนกรีต เพื่อรับแรงสั่นสะเทือน (Vibration) จาก ชุดปั๊ม และ Hammer Shock จากถังขนาดใหญ่ ( ถังไฟเบอร์เกิด Hammer Shock น้อยที่สุดแล้ว ) ซึ่งสั่นสะเทือนตลอดเวลา 24 ช.ม ด้วย เพื่อไม่ให้แรงสั่นสะเทือนวิ่งลงที่พื้นโดยตรง และ ถ้าปูนแตกก็สามารถทำการซ่อมได้ง่าย เพราะรอยแตกจะอยู่เฉพาะที่ แท่นปูน กับ ตอม้อ เท่านั้น จะไม่วิ่งลามกระจายไปทั่วพื้นเหมือนปัจจุบัน ( เดินเครื่องเพียงแค่เดือนเดียว พื้นแตกแล้ว รับรองไม่นานพื้นจะมีการทรุดตัวลงแน่นอน เร็วหรือช้าขึ้นกับสภาพโครงสร้างเหล็กของคานรับใต้พื้น)
ตอนนี้ยังไม่เจอ ปัญหาเรื่องพื้นปูนที่รองรับ แต่รับรองในอนาคตมีแน่ ๆ เรื่องพื้นแตกและทรุดตามมาบริเวณใต้แท่นปั๊ม และ ฐานถัง เพราะไม่มีอะไรมาดูดซับ absorp แรงสั่นสะเทือนเลย พื้นปูนออกแบบไว้สำหรับรับ load ( 2-2.5 Ton / sqm.) แต่ไม่ได้ออกแบบไว้รับ Vibration เป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้โครงสร้างเกิดการล้า (Fatique) และ แตกร้าวในที่สุด
ด้วยความห่วงใย และ ปรารถนาดีจากเพื่อน